สำหรับคนขี้เกียจอ่าน
- เลือกเหล็กจากขนาดรูปทรง ความหนา น้ำหนัก ที่ตรงตามขนาดที่ต้องการ โดยขนาดรูปทรงของเหล็กต้องมีความคลาดเคลื่อนไปจากแบบบวกลบไม่เกิน 2% เนื้อเหล็กเรียบ ไม่บิดเบี้ยว คดงอ และน้ำหนักได้มาตรฐาน
- เลือกเหล็กจากสเปคยี่ห้อที่เชื่อถือได้ แข็งแรง ทนทาน ได้มาตรฐาน มีความเหนียว หากเป็นเหล็กเส้นสังเกตง่ายๆ ได้จากรหัส SDXX บนตัวเหล็ก ยิ่งมากยิ่งเหนียว
- เลือกเหล็กจากร้านค้าหรือโรงงานที่ไว้ใจได้ เนื่องจากมีร้านค้าวัสดุก่อสร้างเกิดขึ้นมากมายทั้งร้านวัสดุก่อสร้างท้องถิ่น และร้านวัสดุก่อสร้างออนไลน์ ควรศึกษาพื้นเพและชื่อเสียงของบริษัท รวมไปถึงการออกเอกสารใบเสนอราคา ใบกำกับภาษี เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง
- ขอเตือนใจอยากให้อ่าน อย่ามองแต่เรื่องราคาจนได้เหล็กที่ไม่มีคุณภาพ เช่น เหล็กเกรดB เหล็กเบา หรือเหล็กอื่นๆ ที่ไม่ได้มาจากโรงงานใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายมากหากนำไปก่อสร้างบ้าน อาคาร ที่ต้องรับน้ำหนักอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงควรตรวจสอบทุกครั้งหลังจากที่ได้รับสินค้า เพื่อลดปัญหาข้อผิดพลาดเรื่องสินค้าไม่ตรงตามที่สั่ง และแก้ไขปัญหาได้ทันการ
เลือกเหล็ก จากขนาดรูปทรง ความหนา น้ำหนัก ที่ตรงตามขนาดที่ต้องการ
- การเลือกขนาดและรูปทรงของเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณ ก็ไม่ต่างอะไรกับการเลือกคู่รัก ซึ่งต้องตรงตามความต้องการ หรืออย่างน้อยๆก็ต้องใกล้เคียงให้ได้มากที่สุด โดยขนาดจริงรูปทรง หน้าตัด ของเหล็กนั้น ควรบวกลบได้ไม่เกิน 2% และใช้หน่วยวัดเป็นมิลลิเมตร
- ความยาวต้องขนาดเท่ากันทุกเส้น ไม่บิดเบี้ยว หรือคดงอ สมกับเป็นเหล็กเกรดA ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพมาเป็นอย่างดีแล้ว
- เนื้อเหล็กจะต้องเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่หยาบเป็นเกร็ดหรือแตกเหมือนไม้ รวมไปถึงการเชื่อมต่อตะเข็บมีการเก็บให้เรียบ ไม่นูนขึ้นจนเสียรูป
- การดูน้ำหนักเหล็กจะแบ่งเป็น 2 ประเภท
น้ำหนักเหล็กเส้นที่ได้มาตรฐาน
DB32-40 : ควรมีน้ำหนักบวกลบไม่เกิน 4%/เส้น
DB20-28 : ควรมีน้ำหนักบวกลบไม่เกิน 5%/เส้น
DB10-16 : ควรมีน้ำหนักบวกลบไม่เกิน 6%/เส้น
DB6-8 : ควรมีน้ำหนักบวกลบไม่เกิน 8%/เส้น
RB9-34 : ควรมีน้ำหนักบวกลบไม่เกิน 10%/เส้น
RB6 : ควรมีน้ำหนักบวกลบไม่เกิน 6%/เส้นน้ำหนักเหล็กรูปพรรณที่ได้มาตรฐาน
น้ำหนัก ต่ำกว่า 600 กิโลกรัม/เส้น : ควรบวกลบไม่เกิน 10%
น้ำหนัก ตั้งแต่ 600-2,000 กิโลกรัม/เส้น : ควรบวกลบไม่เกิน 7.5%
น้ำหนัก มากกว่า 2,000 กิโลกรัม/เส้น : ควรบวกลบไม่เกิน 5%อ้างอิงจาก : มถ. 103-2550 , มอก. 107-2533 **
- อย่ามองแต่เรื่องราคาจนได้เหล็กที่ไม่มีคุณภาพ เช่น เหล็กเกรดB เหล็กเบา หรือเหล็กอื่นๆ ที่ไม่ได้มาจากโรงงานใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายมากหากนำไปก่อสร้างบ้าน อาคาร ที่ต้องรับน้ำหนักอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงควรตรวจสอบทุกครั้งหลังจากที่ได้รับสินค้า เพื่อลดปัญหาข้อผิดพลาดเรื่องสินค้าไม่ตรงตามที่สั่ง และแก้ไขปัญหาได้ทันการ
เลือกเหล็ก จากสเปคยี่ห้อที่เชื่อถือได้ แข็งแรง ทนทาน ได้มาตรฐาน
- แข็งแรงทนทานและความเหนียว เนื่องจากเหล็กคือวัสดุโครงสร้างของบ้าน เป็นรากฐานที่คอยค้ำจุนให้บ้านอยู่กับเราไปนานแสนนาน ซึ่งหากเป็นเหล็กเส้นก็สามารถสังเกตง่าย ๆ จากค่ารหัส SDXX ที่ระบุไว้บนเนื้อเหล็ก เช่น SD40 สามารถรับประกันแรงดึงที่จุดครากได้ที่ 4,000 กิโลกรัม/ตารางเมตร และ SD50 สามารถรับประกันแรงดึงที่จุดครากได้ถึง 5,000 กิโลกรัม/ตารางเมตร ตามลำดับ
- มีการตีตรา ระบุสเปค ยี่ห้อ ที่เชื่อถือได้ โดยสังเกตุได้จากผลงานโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านมา รวมถึงชื่อเสียงเรียงนามของแต่ละแบรนด์ เนื่องจากเหล็กบางยี่ห้อก็มีเสียงไม่ค่อยดีจากวงการก่อสร้างมาเช่นกัน
- มีเอกสารรับรอง เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าเหล็กของทางโรงงาน หรือร้านค้าวัสดุก่อสร้าง เป็นเหล็กจากโรงใหญ่ได้มาตรฐานแน่นอน
ข้อเตือนใจ อยากให้อ่าน!
- อย่ามองแต่เรื่องราคาเป็นหลัก เช่น เหล็กเกรดB เหล็กมือ2 เหล็กเบา หรือคำเรียกอื่น ๆ ที่ไม่ได้มาตรฐานเหล็กโรงใหญ่ เหล็กจำพวกนี้จะมีราคาต่ำกว่าเหล็กทั่วไปที่ได้มาตรฐาน ซึ่งความเหนียวและความทนทานก็จะต่ำ ไม่มีคุณภาพ อันตรายมากหากนำไปใช้กับงานโครงสร้างที่ต้องรับน้ำหนัก รับแรงกดทับต่างๆ สังเกตุง่าย ๆ จากความเรียบเนียนของเนื้อเหล็ก
- ตรวจสอบ และเช็คจำนวนทุกครั้งหลังจากได้รับสินค้า หรือใช้วิธีชั่งน้ำหนักให้มีความใกล้เคียงกันกับจำนวนที่สั่งมากที่สุด ควรจะทำให้เร็วที่สุดหลังจากที่ได้รับสินค้าเพื่อทราบปัญหา แลดำเนินการแก้ไขได้ทันการ
cr. builk.com/yello/การเลือกเหล็ก/